การฟื้นฟูสมอง เพิ่มความฉลาดทางปัญญา

p3

แม้ว่าเมื่ออายุเพิ่มขึ้นในแต่ละปี พลังสมองก็จะค่อยๆ เสื่อมลงเป็นธรรมดา แต่จริงๆ แล้วถ้าเราบริหารสมองมันก็เป็นการฟื้นฟูประสิทธิภาพของสมองให้คงฟิตเปรี๊ยะอยู่เสมอ ถ้ามีการกระตุ้นสมองเป็นประจำ ในสมองของเรานั้นก็จะเพิ่มการเชื่อมต่อขึ้นอีกนับล้านๆ จุด ซึ่งนั่นย่อมหมายความว่าสมองจะมีศักยภาพเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวเลยทีเดียว ในส่วนของสติปัญญาของคนเรานั้นสามารถจะพัฒนาให้เปลี่ยนแปลงได้ด้วย เพราะความสามารถของสมองก็คือตัวบ่งชี้สติปัญญาของแต่ละบุคคลนั่นเอง ทักษะหลักๆ 3 ประการของสมอง ก็คือ ความสามารถในการจำ การเรียนรู้ และการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ถ้าบุคคลใดสามารถมีความจำที่ดี สามารถเรียนรู้ได้ดีและเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ด้วย อย่างนี้ก็ถือว่าเป็นคนที่มีสติปัญญาชาญฉลาดด้วยเพราะมันสมองของเขามี แต่ที่ว่า “ดี” ในทักษะหลักๆ 3 ประการนั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความสามารถของสมองเรามีมากน้อยขนาดไหน มาดูละเอียดทักษะทั้ง 3 ประการเถอะ ความสามารถในการจำ สมองของเรามีวิธีจำอยู่ 2 ระดับ คือ การจำระยะสั่นและระยะยาว ความจำระยะสั้น คือ ความจำในเรื่องพื้นฐานประจำวัน เช่น ต้องจำได้ว่าจะต้องทำอะไรบ้างในวันนี้ หรือหมายเลขรหัส ATM ของส่วนตัว ความจำระยะยาว คือ ความจำที่ไม่ใช่แค่ตั้งใจจะท่องจำก็สามารถจำได้ แต่เป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝน เพราะความจำระยะบาวจะเป็นเรื่องต่างๆ ที่มีขีดจำกัด ความสามารถในการเรียนรู้ ถ้าคน 2 คนได้เรียนรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเหมือนกัน แต่คนที่มีศักยภาพทางสมองดีกว่า [...]

Tips ฝึกนิสัยการอ่าน ง่ายนิดเดียว!

p3

หลายๆ คนคงประสบปัญหาว่า มีหนังสือที่ซื้อมามากมาย แต่ยังอ่านไม่หมดซักที เพราะเวลาจะอ่านหนังสือแทบไม่มี บางคนก็ดองไว้นานจนลืมไปแล้วว่า เอ เคยซื้อเล่มนี้มาด้วยเหรอ??? พอยังอ่านเล่มที่มีไม่หมด หนังสือเล่มใหม่ที่น่าสนใจก็ออกมาอีกแล้ว จะทำยังไงดีนะ ? วางแผนเรื่องเวลา วางแผนไว้เลยว่าเราจะอ่านหนังสืออย่างน้อยครั้งละ 5-10 นาที ทำให้เป็นนิสัยที่จะอ่านหนังสือระหว่างทานอาหาร ไม่ว่าจะเช้า กลางวัน หรือเย็น (โดยเฉพาะเวลาที่ทานอาหารคนเดียว) รวมทั้งเวลานอน นั่นเท่ากับคุณมีเวลาถึง 4 ครั้งต่อวัน หรือเท่ากับ 40 นาทีต่อวันเลยทีเดียว มีหนังสือไว้กับตัวตลอดเวลา ไม่ว่าคุณจะไปที่ไหน ก่อนออกจากบ้าน ติดเอาหนังสือไปกับคุณด้วยสิ ไม่ว่าจะไปออฟฟิศ ไปเรียน นัดเจอเพื่อนซี้ ทำธุระที่ธนาคาร ไปหาหมอฟัน ฯลฯ เวลานั่งรอ ก็หยิบหนังสือออกมาอ่านได้เสมอ แถมทำให้ไม่เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์อีกด้วย จัดทำลิสต์รายการหนังสือ เก็บลิสต์รายการหนังสือดีๆ ทั้งหมดที่ต้องการจะอ่านเอาไว้ แล้วบันทึกลงในสมุดบันทึกประจำวันของเรา, ในสมุดโน้ต หรือในโฮมเพจส่วนตัวก็ได้ พออ่านเสร็จ ก็แค่ขีดฆ่าเล่มที่เราอ่านแล้ว เท่านี้ก็สามารถจัดการลำดับในการอ่านหนังสือได้อย่างง่ายดาย เก็บบันทึกเหตุการณ์ เหมือนกับลิสต์รายการอ่านหนังสือ แต่ไม่ใช่การบันทึกแค่ชื่อหนังสือ และผู้แต่งหนังสือที่เราอ่านเท่านั้นนะ แต่รวมถึงวันที่เริ่มอ่าน [...]

วิธีการอ่านแบบ ORUS

p3

          หลายคนก็อ่านหนังสือกันเยอะไป อ่านกันแบบทุกตัวอักษรตั้งแต่ต้นจนจบ อ่านซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่ถ้าอ่านแบบไม่มีหลัก ก็เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะฉะนั้นต้องเริ่มต้นการอ่านอย่างมีวัตถุประสงค์ มีวิธีการอ่านแบบที่เรียกว่า ORUS (อ่านว่าโอรัสก็ได้) การอ่านแบบ ORUS มี 4 ขั้นตอน สำรวจ (Overview) ก็คือตรวจดูสิ่งที่เราจะต้องอ่านว่ามีอะไรบ้าง เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อหัวข้อ ตัวที่พิมพ์หนาๆ ซึ่งพวกนี้จะบอกขอบเขตเนื้อหาคร่าวๆ รวมไปถึงพวกรูปภาพประกอบ แผนภูมิ ที่เป็นตัวช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหาได้มากขึ้น พอรู้เนื้อหาคร่าวๆแล้ว ก็ต้องมาวางแผนการอ่านเนื้อหาทั้งหมด แบ่งเป็นตอนๆไป กำหนดเวลาอ่านด้วย แล้วก็ต้องทำตามให้ได้ด้วยนะคะ อ่าน (Read) การอ่านแบบโอรัส จะเป็นการอ่านแบบรวดเร็วและคัดเอาแต่ใจความสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ประโยคแรกหรือย่อหน้าสุดท้ายประโยคไหนที่ไม่สำคัญก็อ่านข้ามไป แต่ถ้าอ่านแล้ว สงสัย แอบจดคำถามไว้ก่อนก็ได้ เก็บข้อมูล (Pick Up) เป็นการเน้นใจความสำคัญเพื่อให้เราจำได้ โดยการขีดเส้นใต้ กาดอกจัน โดยเฉพาะส่วนที่คิดว่าน่าจะออกสอบ หรือโน๊ตย่อไว้ พอทำเครื่องหมายแล้ว ให้จำโดยไม่ต้องเปิดดู สรุปความเข้าใจ (Summarize) อ่านจบแล้ว ลองมาเขียนโน๊ตย่อของเรื่องที่อ่านไปใส่สมุด โดยเขียนสิ่งที่เราจำได้ก่อน ถ้าเขียนออกมาแล้วงง [...]

เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Active Learning)

p3

Active Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง แปลตามตัวก็คือเป็นการเรียนรู้ ผ่านการปฏิบัติ หรือ การลงมือทำซึ่ง “ความรู้” ที่เกิดขึ้นก็เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ดังกล่าวนั่นเองหรือพูดให้ง่ายขึ้นมาหน่อยก็คือ หากเปรียบความรู้เป็น “กับข้าว” อย่างหนึ่งแล้ว Active learning ก็คือ “วิธีการปรุง” กับข้าวชนิดนั้น ดังนั้นเพื่อให้ได้กับข้าวดังกล่าว เราก็ต้องใช้วิธีการปรุงอันนี้แหละแต่ว่ารสชาติจะออกมาอย่างไรก็ขึ้นกับประสบการณ์ความชำนาญของผู้ปรุงนั่นเอง (ส่วนหนึ่งจากผู้สอนให้ปรุงด้วย) ความน่าสนใจของ Active Learning ก็คือเป็นกระบวนการที่นำผู้เรียนไปสู่พัฒนาการด้านต่าง ๆ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา และเป็น How to อย่างหนึ่งในการจัดการเรียน การสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child-centered) Active Learning มีกระบวนการอย่างไร เริ่มจากการนำหลักสูตรกางออกมาให้หมดว่าแต่ละวิชามีเนื้อหาอะไรบ้างที่ผู้เรียนจะต้องรู้ จากนั้นก็เลือกหัวข้อเรื่องของแต่ละวิชาที่มีความคล้ายคลึงกันหรือมีความเกี่ยวข้องกันมาปรับเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน การที่นำเนื้อหาที่สอดคล้องกันมาใช้ร่วมกันก็เป็นการเรียนการสอนที่เรียกว่า “บูรณาการ” ซึ่งอันนี้บางสถาบันอาจจะทำ Active learning แบบแยกส่วนเป็นวิชาๆ ไปก็ได้ก็จะเป็นการลดขั้นตอนในการทำงานลงไปหน่อยไม่ต้องปวดหัวกับการจับมารวมกัน แล้วดัดแปลงให้ลงตัวเหมือน บูรณาการหลังจากได้เนื้อหาที่ต้องการแล้วก็นำมาประยุกต์ให้เป็นการปฏิบัติ โดยมาคิดว่าจะทำอย่างไรให้ผู้เรียนปฏิบัติหรือได้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้เรียนได้ความรู้ และเข้าใจเนื้อหาดังกล่าว ซึ่งตอนนี้แหละที่เป็นภาระขั้นแรกของผู้สอนที่ไหนจะต้องกังวลว่าเนื้อหาไม่ครบ แล้วไหนจะต้องออกแบบกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนทำอีก แล้วหลังจากนั้นการให้ผู้เรียนทำกิจกรรมก็อาจจะเป็นกลุ่มบ้าง [...]

มือชา ปัญหาที่พบได้ในคนทำงานออฟฟิศ

p3

มือชาเท้าชาเป็นปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่ง ที่มักเกิดกับคนในวัยทำงาน หรือผู้ที่ต้องนั่งทำงานประจำออฟฟิศ ทำงานนั่งโต๊ะใช้คอมพิวเตอร์นาน ๆ นพ.กวี ภัทราดูลย์ ศัลยแพทย์ทางมือและจุลศัลยกรรม โรงพยาบาลเวชธานี ให้ข้อมูลว่า “คนที่ต้องนั่งทำงานอยู่ท่าเดิมนาน ๆ ก็อาจมีโอกาสเกิดอาการมือเท้าชาได้มากกว่าปกติบ้าง จากการที่เส้นประสาทโดนกดทับ ที่พบบ่อยคือ บริเวณข้อมือ จากการที่ข้อมืออยู่ในท่าแอ่น หรือ งอนาน ๆ เช่น การใช้เมาส์ หรือ พิมพ์งาน เป็นต้น อาการมือเท้าชาในคนทำงานเกิดจากการที่เส้นประสาทที่พาดผ่านบริเวณข้อมือถูกกดทับ ซึ่งเส้นประสาทนี้จะผ่านจากแขนไปยังข้อมือเพื่อไปรับความรู้สึกที่บริเวณมือ โดยทอดผ่านบริเวณข้อมือและลอดผ่านเอ็นที่ยึดบริเวณข้อมือ อาจมีสาเหตุบางประการที่ทำให้เส้นประสาทนี้ถูกกดทับได้ จึงทำให้มือชา ร่วมกับมีอาการปวดชาร้าวไปยังท่อนแขนหรือต้นแขนได้ และบางคนพบว่ามือข้างที่เป็นอ่อนแรงหยิบจับสิ่งของไม่ถนัด ถ้าทิ้งไว้จะพบว่ากล้ามเนื้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มืออาจจะแฟบลง เมื่อเทียบกับมืออีกข้างหนึ่ง พบในเพศหญิงมากกว่าชายระหว่างวัย 30-60 ปี ปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดอาการ มือเท้าชาได้ การกระแทกที่บริเวณข้อมืออยู่เป็นประจำ เช่น ใช้เครื่องตัดหญ้า กำไม้เทนนิส กระดูกข้อมือหัก หรือการหลุดเคลื่อนของข้อ โรคไขข้ออักเสบ เช่น รูมาตอยด์ เก๊าต์ คนที่เป็นเบาหวาน กลุ่มไทรอยด์บกพร่อง ภาวะบวมน้ำจากโรคไต และตับ ภาวะตั้งครรภ์ คนที่มีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนจากการหมดประจำเดือน [...]

สุขบัญญัติ 10 ประการ

p3

เสริมสร้างสุขภาพด้วย สุขบัญญัติ 10 ประการ            สุขบัญญัติ 10 ประการ คือ ข้อกำหนดที่เด็ก และเยาวชน รวมทั้งประชาชนทั่วไป ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย เพราะผู้ที่ปฏิบัติตามสุขบัญญัติ 10 ประการ จะเป็นคนมีสุขภาพดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ซึ่งจะส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรง มีสมรรถภาพในการเรียน การทำงาน และ สุขบัญญัติ 10 ประการ ยังช่วยให้มีภูมิต้านทานโรค ไม่เจ็บป่วยง่าย ๆ ด้วย โดยสุขบัญญัติ 10 ประการ หรือ สุขบัญญัติแห่งชาตินี้ รัฐบาลได้ประกาศให้ดำเนินการและเผยแพร่ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2539 ดังนั้นจึงได้กำหนดให้ทุกวันที่ 28 พฤษภาคม เป็น “วันสุขบัญญัติแห่งชาติ” อีกด้วย สุขบัญญัติ 10   ประการ  ประกอบด้วย 1.ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด ทำได้โดย          – อาบน้ำทุกวัน [...]

บุคลิกภาพของคนที่มีความสุข

p3

            คนที่มีความสุขในใจ จะมีบุคลิกภาพพิเศษเป็นบุคคลที่ใช้ความเร็วความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับการยอมรับมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ จึงมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงานได้ไม่ยากนัก บุคลิกภาพพิเศษนั้น ได้แก่ คนที่มีความสุขเป็นคนช่างคิด มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถเผชิญโลกตามสถานการณ์ที่เป็นจริง ทั้งในแง่สุขและทุกข์ ยอมรับสภาพที่แท้จริงของชีวิตได้ คนที่มีความสุขจะมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เข้าใจผู้อื่น ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การได้ช่วยเหลือผู้อื่นจะทำให้รู้สึกเป็นสุข คนที่มีความสุขจะมีสุขภาพดี ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพใจ มีความร่าเริง ถึงแม้ว่าบางคนจะมีข้อบกพร่องทางร่างกายก็สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความ สุขเช่นกัน คนที่มีความสุขจะแก่ช้า มีบุคลิกภาพดี ผิวพรรณดี มีความตื่นตัว มีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ ยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย คนที่มีความสุขจะมีความนับถือตนเอง ซื่อสัตย์ต่อตนเองมีความพึงพอใจต่อสภาพของตนเอง สามารถดำเนินชีวิตด้วยตนเองได้เป็นอย่างดี คนที่มีความสุขจะเป็นที่ชอบพอของคนทั่วไป มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง ได้รับการยกย่องนับถือจากคนรอบข้าง คนที่มีความสุขมักจะประสบความสำเร็จในการทำงาน คนที่มีความสุขมักจะมีความเต็มใจ มีความเสียสละในการทำงาน ความสำเร็จก็จะตามมาในที่สุด             คนเราเกิดมาพร้อมกับความแตกต่างกัน ความไม่เท่าเทียมกัน บุคคลที่สามารถรังสรรค์ชีวิตของตนเองให้มีความสุขได้ในทุกสถานการณ์นั้น อาจกล่าวได้ว่าคุณคือบุคคลที่มีความสุขในชีวิตอย่างแท้จริง

ความคิดสร้างสรรค์

p3

รศ. ดร. อารี พันธ์มณี์ หัวหน้าสาขาวิชาจิตวิทยาเพื่อการพัฒนามนุษย์์            ความคิดสร้างสรรค์ นับเป็นความสามารถที่สำคัญอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน ซึ่งมีคุณภาพมากกว่าความสามารถด้านอื่นๆ และเป็นปัจจัยที่จำเป็นยิ่งในการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติ ประเทศใดก็ตามที่ประชาชนมีความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิด กล้าใช้จิตนาการในการสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่ สามารถแสวงหาพัฒนาและดึงศักยภาพเชิงสร้างสรรค์ของประเทศชาติออกมาใช้ให้เกิด ประโยชน์ได้มากเท่าใด ก็ยิ่งมีโอกาสพัฒนาและเจริญก้าวหน้าได้มากเท่านั้น           ความคิดสร้างสรรค์ เป็นลักษณะความคิดที่แปลกใหม่ซึ่งอาจเกิดจากการคิดปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจาก ความคิดเดิม ให้เป็นความคิดที่แปลกใหม่และแตกต่างจากความคิดเดิม เป็นความคิดที่เป็นประโยชน์ ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการทางสมองที่คิดในลักษณะอเนกอนัยอันนำไปสู่การ คิดค้นสิ่งแปลกใหม่ด้วยการคิดดัดแปลง ปรุงแต่งจากความคิดเดิมผสมผสานกันเกิดสิ่งใหม่ ซึ่งรวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ ตลอดจนวิธีการคิดทฤษฎีหลักการได้สำเร็จ ลักษณะของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการคิดพลิกแพลงแก้ปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วงด้วยดี ไม่ชอบทำตามอย่างผู้อื่นโดยไม่มีเหตุผล มีจิตใจจดจ่อและผูกพันกับงานและความอดทนอย่างทรหด เป็นผู้ไม่ยอมเลิกล้มอะไรง่าย หรือเป็นนักสู้ที่ดี มีความคิดคำนึงหรือจินตนาการสูง มีลักษณะความเป็นผู้นำ มีลักษณะขี้เล่น รื่นเริง ชอบรับประสบการณ์ใหม่ๆ นับถือตนเองและเชื่อมั่นในตนเองสูง มีความคิดอิสระและยืดหยุ่น ยอมรับและสนใจสิ่งแปลกๆ มีความซับซ้อนในการรับรู้ กล้าหาญกล้าเผชิญความจริง ไม่ค่อยเคร่งครัดกับระเบียบแบบแผน ไม่ยึดมั่น (Dogmatism) ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนเกินไปชอบทำงานเพื่อความสุขและความพอใจของตนเอง มีอารมณ์ขัน เอกสารอ้างอิง รศ. ดร. อารี พันธ์มณี. ความคิดสร้างสรรค์. [...]

จะเป็นครูดี ต้องมีจิตวิทยา

p3

รศ. ดร. รัญจวน คำวชิรพิทักษ์ นักศึกษายุคนี้ชอบพูดเร็ว ชอบเดินเร็ว ชอบทำงานเร็ว รักความยุติธรรม ให้ความสำคัญกับความสำเร็จ อยากเรียนกับอาจารย์ที่ให้เนื้อหาสาระ ควบคู่กับกลยุทธ์การสอนที่น่าสนใจให้เกิดความสุข จะมีความสุขถ้าได้ครูดี มีความเข้าใจและไต่ถามทุกข์สุข ฯลฯ