การฟื้นฟูสมอง เพิ่มความฉลาดทางปัญญา

p3

แม้ว่าเมื่ออายุเพิ่มขึ้นในแต่ละปี พลังสมองก็จะค่อยๆ เสื่อมลงเป็นธรรมดา แต่จริงๆ แล้วถ้าเราบริหารสมองมันก็เป็นการฟื้นฟูประสิทธิภาพของสมองให้คงฟิตเปรี๊ยะอยู่เสมอ ถ้ามีการกระตุ้นสมองเป็นประจำ ในสมองของเรานั้นก็จะเพิ่มการเชื่อมต่อขึ้นอีกนับล้านๆ จุด ซึ่งนั่นย่อมหมายความว่าสมองจะมีศักยภาพเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวเลยทีเดียว ในส่วนของสติปัญญาของคนเรานั้นสามารถจะพัฒนาให้เปลี่ยนแปลงได้ด้วย เพราะความสามารถของสมองก็คือตัวบ่งชี้สติปัญญาของแต่ละบุคคลนั่นเอง ทักษะหลักๆ 3 ประการของสมอง ก็คือ ความสามารถในการจำ การเรียนรู้ และการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ถ้าบุคคลใดสามารถมีความจำที่ดี สามารถเรียนรู้ได้ดีและเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ด้วย อย่างนี้ก็ถือว่าเป็นคนที่มีสติปัญญาชาญฉลาดด้วยเพราะมันสมองของเขามี แต่ที่ว่า “ดี” ในทักษะหลักๆ 3 ประการนั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความสามารถของสมองเรามีมากน้อยขนาดไหน มาดูละเอียดทักษะทั้ง 3 ประการเถอะ ความสามารถในการจำ สมองของเรามีวิธีจำอยู่ 2 ระดับ คือ การจำระยะสั่นและระยะยาว ความจำระยะสั้น คือ ความจำในเรื่องพื้นฐานประจำวัน เช่น ต้องจำได้ว่าจะต้องทำอะไรบ้างในวันนี้ หรือหมายเลขรหัส ATM ของส่วนตัว ความจำระยะยาว คือ ความจำที่ไม่ใช่แค่ตั้งใจจะท่องจำก็สามารถจำได้ แต่เป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝน เพราะความจำระยะบาวจะเป็นเรื่องต่างๆ ที่มีขีดจำกัด ความสามารถในการเรียนรู้ ถ้าคน 2 คนได้เรียนรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเหมือนกัน แต่คนที่มีศักยภาพทางสมองดีกว่า [...]

Tips ฝึกนิสัยการอ่าน ง่ายนิดเดียว!

p3

หลายๆ คนคงประสบปัญหาว่า มีหนังสือที่ซื้อมามากมาย แต่ยังอ่านไม่หมดซักที เพราะเวลาจะอ่านหนังสือแทบไม่มี บางคนก็ดองไว้นานจนลืมไปแล้วว่า เอ เคยซื้อเล่มนี้มาด้วยเหรอ??? พอยังอ่านเล่มที่มีไม่หมด หนังสือเล่มใหม่ที่น่าสนใจก็ออกมาอีกแล้ว จะทำยังไงดีนะ ? วางแผนเรื่องเวลา วางแผนไว้เลยว่าเราจะอ่านหนังสืออย่างน้อยครั้งละ 5-10 นาที ทำให้เป็นนิสัยที่จะอ่านหนังสือระหว่างทานอาหาร ไม่ว่าจะเช้า กลางวัน หรือเย็น (โดยเฉพาะเวลาที่ทานอาหารคนเดียว) รวมทั้งเวลานอน นั่นเท่ากับคุณมีเวลาถึง 4 ครั้งต่อวัน หรือเท่ากับ 40 นาทีต่อวันเลยทีเดียว มีหนังสือไว้กับตัวตลอดเวลา ไม่ว่าคุณจะไปที่ไหน ก่อนออกจากบ้าน ติดเอาหนังสือไปกับคุณด้วยสิ ไม่ว่าจะไปออฟฟิศ ไปเรียน นัดเจอเพื่อนซี้ ทำธุระที่ธนาคาร ไปหาหมอฟัน ฯลฯ เวลานั่งรอ ก็หยิบหนังสือออกมาอ่านได้เสมอ แถมทำให้ไม่เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์อีกด้วย จัดทำลิสต์รายการหนังสือ เก็บลิสต์รายการหนังสือดีๆ ทั้งหมดที่ต้องการจะอ่านเอาไว้ แล้วบันทึกลงในสมุดบันทึกประจำวันของเรา, ในสมุดโน้ต หรือในโฮมเพจส่วนตัวก็ได้ พออ่านเสร็จ ก็แค่ขีดฆ่าเล่มที่เราอ่านแล้ว เท่านี้ก็สามารถจัดการลำดับในการอ่านหนังสือได้อย่างง่ายดาย เก็บบันทึกเหตุการณ์ เหมือนกับลิสต์รายการอ่านหนังสือ แต่ไม่ใช่การบันทึกแค่ชื่อหนังสือ และผู้แต่งหนังสือที่เราอ่านเท่านั้นนะ แต่รวมถึงวันที่เริ่มอ่าน [...]

เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง “การจัดการเรียนรู้และการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในบริบทการจัดการเรียนการสอนของพระสงฆ์

p3

การจัดการเรียนรู้และการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในบริบทการจัดการเรียนการสอนของพระสงฆ์

1323838591

โครงการประชุมวิชาการเรื่อง “การจัดการเรียนรู้และการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในบริบทการจัดการเรียนการสอนของพระสงฆ์             ศูนย์พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนร่วมกับหลักสูตรสาขาจิตวิทยาระดับบัณฑิตศึกษา และเครือข่ายโรงเรียนพระปริยัติธรรมและโรงเรียนพระพุทธศาสนา จัดโครงการประชุมวิชาการเรื่อง “การจัดการเรียนรู้และการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในบริบทการจัดการเรียนการสอนของพระสงฆ์ ในอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2554 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ห้องสัมมนา 3 ชั้น 3 อาคาร 1 มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตพัฒนาการ

เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์

p3

เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง มาตรฐานการจัดการเรียนรู้วิชาศึกษาทั่วไป

p3

วิธีการอ่านแบบ ORUS

p3

          หลายคนก็อ่านหนังสือกันเยอะไป อ่านกันแบบทุกตัวอักษรตั้งแต่ต้นจนจบ อ่านซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่ถ้าอ่านแบบไม่มีหลัก ก็เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะฉะนั้นต้องเริ่มต้นการอ่านอย่างมีวัตถุประสงค์ มีวิธีการอ่านแบบที่เรียกว่า ORUS (อ่านว่าโอรัสก็ได้) การอ่านแบบ ORUS มี 4 ขั้นตอน สำรวจ (Overview) ก็คือตรวจดูสิ่งที่เราจะต้องอ่านว่ามีอะไรบ้าง เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อหัวข้อ ตัวที่พิมพ์หนาๆ ซึ่งพวกนี้จะบอกขอบเขตเนื้อหาคร่าวๆ รวมไปถึงพวกรูปภาพประกอบ แผนภูมิ ที่เป็นตัวช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหาได้มากขึ้น พอรู้เนื้อหาคร่าวๆแล้ว ก็ต้องมาวางแผนการอ่านเนื้อหาทั้งหมด แบ่งเป็นตอนๆไป กำหนดเวลาอ่านด้วย แล้วก็ต้องทำตามให้ได้ด้วยนะคะ อ่าน (Read) การอ่านแบบโอรัส จะเป็นการอ่านแบบรวดเร็วและคัดเอาแต่ใจความสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ประโยคแรกหรือย่อหน้าสุดท้ายประโยคไหนที่ไม่สำคัญก็อ่านข้ามไป แต่ถ้าอ่านแล้ว สงสัย แอบจดคำถามไว้ก่อนก็ได้ เก็บข้อมูล (Pick Up) เป็นการเน้นใจความสำคัญเพื่อให้เราจำได้ โดยการขีดเส้นใต้ กาดอกจัน โดยเฉพาะส่วนที่คิดว่าน่าจะออกสอบ หรือโน๊ตย่อไว้ พอทำเครื่องหมายแล้ว ให้จำโดยไม่ต้องเปิดดู สรุปความเข้าใจ (Summarize) อ่านจบแล้ว ลองมาเขียนโน๊ตย่อของเรื่องที่อ่านไปใส่สมุด โดยเขียนสิ่งที่เราจำได้ก่อน ถ้าเขียนออกมาแล้วงง [...]

มาตรฐานการเรียนรู้และการประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริงในวิชาศึกษาทั่วไป

IF

โครงการประชุมวิชาการเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปเรื่อง “มาตรฐานการเรียนรู้และการประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริงในวิชาศึกษาทั่วไป” ศูนย์พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนร่วมกับสำนักวิชาศึกษาทั่วไปจัดโครงการประชุมวิชาการเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปเรื่อง “มาตรฐานการเรียนรู้และการประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริงในวิชาศึกษาทั่วไป” ในศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม 2554 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 10 อาคาร 3 มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตพัฒนาการ

เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Active Learning)

p3

Active Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง แปลตามตัวก็คือเป็นการเรียนรู้ ผ่านการปฏิบัติ หรือ การลงมือทำซึ่ง “ความรู้” ที่เกิดขึ้นก็เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ดังกล่าวนั่นเองหรือพูดให้ง่ายขึ้นมาหน่อยก็คือ หากเปรียบความรู้เป็น “กับข้าว” อย่างหนึ่งแล้ว Active learning ก็คือ “วิธีการปรุง” กับข้าวชนิดนั้น ดังนั้นเพื่อให้ได้กับข้าวดังกล่าว เราก็ต้องใช้วิธีการปรุงอันนี้แหละแต่ว่ารสชาติจะออกมาอย่างไรก็ขึ้นกับประสบการณ์ความชำนาญของผู้ปรุงนั่นเอง (ส่วนหนึ่งจากผู้สอนให้ปรุงด้วย) ความน่าสนใจของ Active Learning ก็คือเป็นกระบวนการที่นำผู้เรียนไปสู่พัฒนาการด้านต่าง ๆ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา และเป็น How to อย่างหนึ่งในการจัดการเรียน การสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child-centered) Active Learning มีกระบวนการอย่างไร เริ่มจากการนำหลักสูตรกางออกมาให้หมดว่าแต่ละวิชามีเนื้อหาอะไรบ้างที่ผู้เรียนจะต้องรู้ จากนั้นก็เลือกหัวข้อเรื่องของแต่ละวิชาที่มีความคล้ายคลึงกันหรือมีความเกี่ยวข้องกันมาปรับเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน การที่นำเนื้อหาที่สอดคล้องกันมาใช้ร่วมกันก็เป็นการเรียนการสอนที่เรียกว่า “บูรณาการ” ซึ่งอันนี้บางสถาบันอาจจะทำ Active learning แบบแยกส่วนเป็นวิชาๆ ไปก็ได้ก็จะเป็นการลดขั้นตอนในการทำงานลงไปหน่อยไม่ต้องปวดหัวกับการจับมารวมกัน แล้วดัดแปลงให้ลงตัวเหมือน บูรณาการหลังจากได้เนื้อหาที่ต้องการแล้วก็นำมาประยุกต์ให้เป็นการปฏิบัติ โดยมาคิดว่าจะทำอย่างไรให้ผู้เรียนปฏิบัติหรือได้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้เรียนได้ความรู้ และเข้าใจเนื้อหาดังกล่าว ซึ่งตอนนี้แหละที่เป็นภาระขั้นแรกของผู้สอนที่ไหนจะต้องกังวลว่าเนื้อหาไม่ครบ แล้วไหนจะต้องออกแบบกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนทำอีก แล้วหลังจากนั้นการให้ผู้เรียนทำกิจกรรมก็อาจจะเป็นกลุ่มบ้าง [...]

คู่มือ การใช้กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเพื่อพัฒนาคุณลักษณะ KASEM ของนักศึกษา มกบ.

p3