เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Active Learning)

Active Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง แปลตามตัวก็คือเป็นการเรียนรู้ ผ่านการปฏิบัติ หรือ การลงมือทำซึ่ง “ความรู้” ที่เกิดขึ้นก็เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ดังกล่าวนั่นเองหรือพูดให้ง่ายขึ้นมาหน่อยก็คือ หากเปรียบความรู้เป็น “กับข้าว” อย่างหนึ่งแล้ว Active learning ก็คือ “วิธีการปรุง” กับข้าวชนิดนั้น ดังนั้นเพื่อให้ได้กับข้าวดังกล่าว เราก็ต้องใช้วิธีการปรุงอันนี้แหละแต่ว่ารสชาติจะออกมาอย่างไรก็ขึ้นกับประสบการณ์ความชำนาญของผู้ปรุงนั่นเอง (ส่วนหนึ่งจากผู้สอนให้ปรุงด้วย) ความน่าสนใจของ Active Learning ก็คือเป็นกระบวนการที่นำผู้เรียนไปสู่พัฒนาการด้านต่าง ๆ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา และเป็น How to อย่างหนึ่งในการจัดการเรียน การสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child-centered)

Active Learning มีกระบวนการอย่างไร เริ่มจากการนำหลักสูตรกางออกมาให้หมดว่าแต่ละวิชามีเนื้อหาอะไรบ้างที่ผู้เรียนจะต้องรู้ จากนั้นก็เลือกหัวข้อเรื่องของแต่ละวิชาที่มีความคล้ายคลึงกันหรือมีความเกี่ยวข้องกันมาปรับเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน การที่นำเนื้อหาที่สอดคล้องกันมาใช้ร่วมกันก็เป็นการเรียนการสอนที่เรียกว่า “บูรณาการ” ซึ่งอันนี้บางสถาบันอาจจะทำ Active learning แบบแยกส่วนเป็นวิชาๆ ไปก็ได้ก็จะเป็นการลดขั้นตอนในการทำงานลงไปหน่อยไม่ต้องปวดหัวกับการจับมารวมกัน แล้วดัดแปลงให้ลงตัวเหมือน บูรณาการหลังจากได้เนื้อหาที่ต้องการแล้วก็นำมาประยุกต์ให้เป็นการปฏิบัติ โดยมาคิดว่าจะทำอย่างไรให้ผู้เรียนปฏิบัติหรือได้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้เรียนได้ความรู้ และเข้าใจเนื้อหาดังกล่าว ซึ่งตอนนี้แหละที่เป็นภาระขั้นแรกของผู้สอนที่ไหนจะต้องกังวลว่าเนื้อหาไม่ครบ แล้วไหนจะต้องออกแบบกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนทำอีก แล้วหลังจากนั้นการให้ผู้เรียนทำกิจกรรมก็อาจจะเป็นกลุ่มบ้าง เดี่ยวบ้าง ซึ่งผู้เรียนได้มีส่วนร่วมตั้งแต่การคิดวางแผนงาน การแก้ปัญหา การลงมือทำ และการนำเสนอกิจกรรมที่ทำเสร็จแล้ว นี่แหละประเด็นสำคัญที่ทำให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ได้ด้วยตัวเองโดยมีผู้สอนเป็นที่ปรึกษา

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง สองปัจจัยที่มีความสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้แบบนี้ก็คือ ผู้สอนและสิ่งแวดล้อม ดูเหมือนว่า ผู้สอนจะค่อนข้างสบาย (เพราะผู้เรียนต้องทำเองหมด) แต่ความจริงแล้วผู้สอนจะเหนื่อยในการเตรียมตัวค่อนข้างมากเพราะผู้สอนจะต้องเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์ให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมของผู้เรียน อาจจัดแบ่งเป็นหลากหลายมุมเรียนรู้และช่วยให้ผู้เรียนได้ความรู้จากสิ่งที่ผู้เรียนปฏิบัติ โดยการกระตุ้นให้ผู้เรียนกระตือรือร้นในการหาคำตอบช่วยให้ผู้เรียนคิดและแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ผู้สอนเป็นผู้ให้คำปรึกษามากกว่าผู้ให้คำตอบ อีกปัจจัยสำคัญก็คือบรรยากาศในการเรียนรู้ในที่นี้หมายรวมถึงอุปกรณ์ในการเรียนรู้ด้วยจะต้องมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมและครบครันให้ผู้เรียนหรือไม่ ผู้สอนอาจจะให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมตั้งแต่การวางแผนและการทำอุปกรณ์ประกอบการทำกิจกรรม ซึ่งก็แล้วแต่การวางแผนของผู้สอนแต่ปัญหาของการใช้ Active learning ก็คือเมื่อผู้เรียนเรียนรู้ชั้นสูงขึ้นไปเนื้อหาเริ่มยากและซับซ้อนมากขึ้นโจทย์ของผู้สอนในการเปลี่ยนเนื้อหาให้เป็นกิจกรรมจึงยากขึ้นตามไปด้วยหลายสถาบันจึงยังคงทำอย่างจริงจังไม่ได้เท่าที่ควร

กิจกรรมการเรียนการสอน ตัวอย่างกิจกรรมและหัวข้อเรื่องอาจจะเป็นเรื่องง่ายที่สุดไล่ไปถึงยากที่สุดก็ได้และลักษณะกิจกรรมก็สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามผู้ที่วางแผนการสอนและผู้สอน เช่น สมมุติว่าเนื้อหาที่เรียนเป็นเรื่อง “พืช” ผู้สอนอาจจะแบ่งกลุ่มให้ผู้เรียนช่วยกันคิดว่าอยากรู้อะไรเกี่ยวกับพืช (ผู้สอนต้องคอยดึงประเด็นไม่ให้นอกเรื่องมากเกินไปด้วย) แล้วให้แต่ละกลุ่มก็ไปหาเมล็ดพืชที่ตัวเองสนใจมาปลูก สัปดาห์แรกอาจจะกำหนดเป็นพืชผักสวนครัว เมื่อปลูกเสร็จก็ให้ผู้เรียนวางแผนการขาย และขั้นตอนสุดท้ายคือนำเสนอผลงานหน้าห้องกิจกรรมนี้สิ่งที่ผู้เรียนรู้ก็คือพืชสวนครัวมีอะไรบ้าง แล้วขั้นกิจกรรมนี้สิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้ก็คือพืชสวนครัวมีอะไรบ้างแล้วขั้นตอนการปลูก การวางแผนการขายต้องกำหนดต้นทุน ราคา และคิดหากำไร

สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ การลงมือทำผู้เรียนจะเกิดประสบการณ์ตรง แล้วใช้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียนสำคัญในการแก้ปัญหาและปรับปรุงให้ดีขึ้นผู้เรียนมีการปฏิบัติสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ อย่างหลากหลาย ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ มากมายผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้เมื่อได้ลงมือปฏิบัติผู้เรียนจะจำความรู้ได้แม่นและนานกว่าการท่องจำเกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ จากการทำกิจกรรม

ที่มา : http://www.yufaidelivery.com/knowledge04.html